สุนัขของฉันกินยาพิษหนู

ลองนึกภาพตาม หากคุณพบว่าสุนัขของคุณเผลอกินยาเบื่อหนูเข้าไป คงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะอาจะทำอันตรายกับพวกเขาถึงชีวิตได้

แต่หากคุณรู้วิธีการจัดการที่รวดเร็ว อาจช่วยให้พวกเขาอาการไม่แย่หรือได้รับอันตรายที่รุนแรงมากจนเกินไป

  1. พาสุนัขของคุณออกห่างจากบริเวณที่มียาเบื่อหนูและเก็บยาเบื่อหนูไว้ในที่ปลอดภัย
  2. จับตาดูพร้อมสังเกตพฤติกรรมของสุนัขคุณอย่างใกล้ชิด หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
  3. โทรหาทีมงานผู้เชี่ยวชาญของเราในกรณีฉุกเฉินพร้อมส่งสุนัขคุณเข้ารับการรักษาตัวกับโรงพยาบาลทันที
  4. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาเบื่อหนูที่สุนัขของคุณรับไป
  5. อย่าพยายามรักษาด้วยวิธีพื้นบ้าน เช่น การทำให้พวกเขาอาเจียน เพราะอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและส่งผลให้มีค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น

การสื่อสารที่รวดเร็วกับเราช่วยให้ประหยัดเวลาได้มากขึ้น แม้ว่าอาการอาจจะยังไม่แสดงให้เห็นได้ชัดก็ตาม

มาทำความรู้จักกับยาเบื่อหนู

ยาเบื่อหนูมีหลายรูปแบบ เช่น รูปแบบเม็ด ผง หรือของเหลว ซึ่งทำให้สุนัขของคุณบริโภคเข้าไปได้โดยไม่ได้ตั้งใจ โดยสารพิษเหล่านี้จะทำงานโดยการยับยั้งความสามารถในการแข็งตัวของเลือด ส่งผลให้มีเลือดออกภายในร่างกายได้

สารเคมีอื่นๆ ที่อยู่ในยาเบื่อหนู

  • Cholecalciferol หรือวิตามิน D3: เพิ่มระดับแคลเซียม ทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ และอาจนำไปสู่ความล้มเหลวของอวัยวะหลายส่วน
  • โบรเมธาลิน: ส่งผลกระตุ้นให้สมองบวมและอาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น การทำงานในสมองไม่ดี มีอาการชัก และอาจถึงขั้นเป็นอัมพาตได้
  • สังกะสีและอะลูมิเนียมฟอสไฟด์: สารเหล่านี้จะปล่อยก๊าซฟอสฟีนในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ปวดท้อง อาเจียน อาการชัก และความเสียหายของตับ

วิธีสังเกตอาการเมื่อสุนัขรับยาเบื่อหนูเข้าสู่ร่างกาย

อาการอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของพิษและอาจไม่ปรากฏทันทีหลังจากที่พวกเขาได้รับเข้าไปในร่างกาย อาการอาจใช้เวลาถึงหนึ่งสัปดาห์จึงจะแสดงออก แต่ยาเบื่อหนูหลายยี่ห้อมีสีย้อมที่สามารถส่งผลให้พบเห็นได้ในอุจจาระของสุนัข หากคุณสังเกตเห็นอุจจาระของสุนัขมีสีผิดปกติ โปรดติดต่อทีมงานของเราทันที เพื่อทำนัดพบสัตวแพทย์ของเรา

การได้รับการรักษาจากสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยให้มีโอกาสในการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสุนัขของคุณอาจแสดงอาการดังนี้:

  • เซื่องซึม
  • เหงือกซีด
  • ความอยากอาหารลดลง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • อัมพาต
  • อาเจียน
  • กระหายน้ำเพิ่มขึ้น
  • มีอาการชัก

แผนการรักษาจากการบริโภคยาเบื่อหนูสำหรับสุนัข

ตัวเลือกการรักษาขึ้นอยู่กับประเภทของพิษและระยะเวลานับตั้งแต่การบริโภคเข้าไปสู่ร่างกาย หากกินเข้าไปภายในไม่กี่ชั่วโมง สัตวแพทย์ของเราอาจทำให้อาเจียนด้วยยาพิเศษและให้ทานถ่านกัมมันต์เพื่อกำจัดพิษให้ได้มากที่สุด พวกเขายังต้องตรวจเลือดสุนัขของคุณและนำพวกเขาไปโรงพยาบาลเพื่อรับของเหลวทางหลอดเลือดดำและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

การรักษาที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ร้ายแรงอาจรวมถึง:

    • ยาฆ่าหนูที่ต้านการแข็งตัวของเลือด: สุนัขอาจต้องการวิตามิน K เป็นเวลา 4-6 สัปดาห์รวมถึงการถ่ายเลือดร่วมด้วย
    • Cholecalciferol หรือวิตามิน D3: สุนัขอาจต้องการการดูแลแบบโดยรวมและใกล้ชิด อาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยให้น้ำเกลือและยาที่ถูกจัดโดยสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของเรา
    • โบรเมธาลิน: สุนัขจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและรักษาอาการสมองบวมร่วมด้วย
    • สังกะสีและอะลูมิเนียมฟอสไฟด์: สุนัขอาจต้องใช้ยาลดกรดและตัวช่วยควบคุมการอาเจียน